การใช้ Context

บล็อกนี้จะหยุดอัปเดตเนื้อหาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2023 อ่านเวอร์ชั่นอัปเดตล่าสุดได้ที่ลิงก์นี้ : คลิกที่นี่


Context คือบริบทของการสนทนา เป็นการตั้งค่าบทสนทนาที่จะ บังคับ ให้ลูกค้าอยู่ในบทสนทนาเรื่องนั้นๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่เราต้องการ และนำไปสู่บทสนทนาที่เราต้องการรู้ต่อไป ตามลำดับขั้นตอน  

โดยก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักเจ้า Context แบบเบื้องต้นกันก่อนนะ..

Context จะแบ่งออกเป็น 2 ตัว คือ Context In และ Context Out
ความต่างของสองตัวนี้ ถ้าให้อธิบายง่ายๆก็คือการรับ และการส่ง
โดยจำไว้ว่าหากเราต้องการใช้งานตัวบริบทของบทสนทนา(Context) หรือต้องการสร้างบทสนทนาที่จะบังคับให้ลูกค้าอยู่ในบทสนทนาเรื่องนั้นๆจนจบ จะต้องเริ่มจาก Context Out ก่อนเสมอ! 
เพราะฉะนั้น Context Out จะเป็นตัวส่ง / Context In จะเป็นตัวรับ นั่นเอง

เราลองมาดูวิธีการตั้งค่าเพื่อให้เข้าใจการทำงานได้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่าค่ะ
การตั้งค่าบริบทของบทสนทนา(Context)จะอยู่ในส่วน “เพิ่มเติม(Advanced)” นะ ลองมาทำตามกันเลย..

สถานการณ์ที่เราจะจำลองการใช้งานบริบทของสนทนา(Context) ในวันนี้
เราจะยกตัวอย่าง การที่ลูกค้ายืนยันสั่งซื้อสินค้า แล้วเราต้องการขอที่อยู่และเบอร์โทรจากลูกค้าตามลำดับ

1. เข้าไปที่หน้าบทสนทนา

2. เข้าไปที่บทสนทนา ที่ต้องการเชื่อมโยงเข้าระบบการรับและตอบข้อความตามขั้นตอน (Context)

2.1  กด “เพิ่มเติม(Advanced)”

2.2  เลือก “บริบทของบทสนทนา(Context)”

2.3  กดตั้งค่าที่ “Context Out” (ช่องทางด้านขวามือ) โดยการตั้งค่า Context Out เราจะใส่หัวข้อเรื่องที่เราต้องการจะทราบต่อไป สิ่งที่เราต้องการทราบต่อไปคือ เราต้องการขอที่อยู่จากลูกค้า Context Out ของเราจึงเป็น “ขอที่อยู่” เพื่อให้บทสนทนาในการที่ลูกค้ายืนยัน จะส่งต่อไปยังการสนทนาเรื่องขอที่อยู่จากลูกค้า

หมายเหตุ : การตั้งชื่อหัวข้อเรื่องใน Context เป็นเพียงการกำหนดข้อมูลการส่งต่อบทสนทนาในระบบเท่านั้น ลูกค้าจะไม่เห็นคำดังกล่าวในบทสนทนา

3. การใส่ Context In : เมื่อลูกค้าตอบกลับข้อมูลที่อยู่มาแล้ว (ตั้งค่าคำฝั่งซ้ายเป็น {address} เพื่ออ่านค่าที่อยู่)

3.1 นำข้อความ “Context Out” ในข้อ 2.3 มาใส่ใน “Context In” 3.1 ในกรณีนี้ เราสร้าง “Context Out” ในข้อ 2.3 ไว้ว่า “ขอที่อยู่” ดังนั้น “Context In” ในข้อ 3.1 จะเป็นคำว่า “ขอที่อยู่” เหมือนกันเป๊ะๆ (ต้องเป็นประโยคเดียวกันและเขียนเหมือนกันเพื่อให้บทสนทนานี้ต่อเนื่องกัน ในกรณีที่ลูกค้าตอบข้อความอื่นที่ไม่ใช่ที่อยู่ บอทก็จะถามย้ำที่จะขอที่อยู่เหมือนเดิม)

3.2 ใส่ข้อความใน “Context Out” 3.2 เพื่อจะไปสร้าง Context ในบทสนทนาต่อไป

3.3 จะเป็นคำตอบของแชทบอทในการขอเบอร์โทรต่อไป

**{address} กดได้จากจุดสามจุดตรงกลาง เป็นคีย์ลัดในการขอที่อยู่ได้ ระบบจะจับที่อยู่จากรหัสไปรษณีย์

4. หลังจากลูกค้าตอบกลับมาเป็นเบอร์โทรศัพท์แล้ว (ตั้งค่าคำฝั่งซ้ายเป็น {phone} เพื่ออ่านค่าเบอร์โทรศัพท์) นำ “Context Out” ในข้อ 3.2 มาใส่ใน “Context In” 4.1 คือคำว่า “ขอทราบเบอร์โทร” เพื่อเป็นการเชื่อมความต่อเนื่องของบทสนทนา

**{phone} กดได้จากจุดสามจุดตรงกลาง เป็นคีย์ลัดในการขอเบอร์โทรได้

หากเราได้รับข้อมูลที่อยู่และเบอร์โทรครบเรียบร้อยแล้ว หมายความว่าความต่อเนื่องของบทสนทนาที่ต้องการทราบที่อยู่และเบอร์โทรจบลงแล้ว เราก็ไม่ต้องสร้างคำใน “Context Out” ต่อแล้ว และลูกค้าก็สามารถโต้ตอบกับบทสนทนาอื่นๆต่อได้เลย

ในทางกลับกันถ้าระหว่างทางลูกค้าให้ข้อมูลหรือตอบคำถามตาม Context ยังไม่ถูกต้อง ระบบก็จะวนถามลูกค้าซ้ำๆ และลูกค้าจะไม่สามารถออกไปโต้ตอบกับบทสนทนาตัวอื่นๆต่อได้นั่นเอง

ตัวอย่างบทสนทนาหลังจากการสร้าง Context In – Context Out

*ฟีเจอร์นี้เป็นฟีเจอร์ตั้งแต่แพ็คเกจพรีเมี่ยมเป็นต้นไป*

ฟีเจอร์พรีเมี่ยมต่างๆ

รับมือกับ การเปลี่ยนกฎ Broadcast ปี 2020 ของ FACEBOOK

– Advanced Conversation (บทสนทนาขั้นสูง)

ตอบกลับคอมเมนต์ (เลือกโพสต์ได้)

Broadcast แบบเลือกกลุ่มเป้าหมายเอง

บริการขายส่ง_Shop Service  

วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจากป้ายบอกสถานะและประเภทลูกค้า

ฝึกฝนบอทให้ฉลาดขึ้นได้

LINE NOTIFY (แจ้งเตือนผ่านไลน์)

– คีย์ลัด # ไว้พิมพ์คำแทนลูกค้า

ตั้งเวลาบทสนทนา

– การใช้ Context

– การติดสถานะ(Status) & ป้ายกำกับ(Tag)ให้กับลูกค้า

– นำเข้าลูกค้าก่อนติดตั้งแชทบอทให้เข้ามาในระบบ (Import User)

– วิธีการโอน Shop Service ไปเพจอื่น

บรอดแคสต์ FACEBOOK หาลูกค้าเก่า จัดไป 5 ประเภทข้อความ

– ice breaker คำทักทายแบบหลายตัวเลือก

-Double Option (ตัวเลือก2 ชั้น)

-โค้ดส่วนลด/Coupon

-เมนูเสริม

-เชื่อมป้ายกำกับ (Tag) จากเฟสบุ๊คอัตโนมัติ

-เมื่อลูกค้าจ่ายเงินผ่าน Shop ระบบติดป้ายกำกับ(Tag)ให้เลย

-ตอบกลับคอมเมนต์ (จากคำบรรยายของโพสต์)

-เทมเพลตบทสนทนา (Conversation templates)


ติดตั้งเลย!

หากคุณมีคำถาม  หรือ ต้องการให้ทีมงานช่วยเหลือ

คลิกที่ “รูปน้อง Zee” หรือ ติดต่อที่เพจ ZWIZ.AI  หรือ เข้า Group ZWIZ.AI

เพื่อคุยกับทีมงานได้เลย


สำหรับลูกค้าธุรกิจ Enterprise บริษัทเรามีบริการตั้งแต่ Consult, Design, Development, Maintain ระบบ AI Chatbot และ Data Analytics รบกวนติดต่อที่ E-mail: sales@zwiz.ai เพื่อนัดนำเสนองาน ดูเพิ่มเติมที่ Enterprise Showcase